ความรู้เกี่ยวกับ sound card
Sound Card
การ์ดเสียง หรือ Soundcard คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงอุปกรณ์ที่เป็นไดร์เวอร์อย่างหนึ่งเวลาประกอบคอมพิวเตอร์ซึ่งจะทำหน้าที่ในการแจกแจงเกี่ยวกับเสียงต่าง ๆ ทั้งขับเสียงออก หรือรับเสียงเข้า ซึ่งถ้าเราไม่มีการ์ดเสียง หรือ Soundcard นี้แล้ว คอมพิวเตอร์ของเราก็คงไม่สามารถขับเสียงออกมาได้ ไม่ว่าจะเชื่อมต่อผ่านลำโพง หรือหูฟังเกมมิ่งก็ตามที ดังนั้นการ์ดเสียง หรือ Soundcard จึงถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่สำคัญดังนั้นวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับการ์ดเสียง หรือ Soundcard กันให้มากขึ้นไปอีกค่ะ
Sound Card (การ์ดเสียง) คือ อุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถแสดงผลออกมาในรูปแบบเสียงได้ โดยจะทำหน้าที่ควบเรื่องเสียง อย่างเช่น ถ้าวงจรเสียงใช้กับเกมส์ที่เราเล่นจะเกิด เสียงต่าง ๆ หรือสร้างเสียงเอฟเฟคต่าง ๆ เข้าเป็น วงจรเสียงที่ใช้กับดนตรีชนิดต่าง ๆ สำหรับสร้างสรรค์งานเพลงที่เราต้องการให้มีคุณภาพของเสียงที่ดีขึ้นกว่าเดิม โดยคุณภาพเสียงจะขึ้นอยู่กับรุ่นและยี่ห้อของ Sound Card
ความชัดเจนของเสียงจะมีประสิทธิภาพดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ อัตราการสุ่มตัวอย่างและความแม่นยำของตัวอย่างที่ได้ ซึ่งความแม่นยำของตัวอย่างนั้นถูกกำหนดโดยความสามารถของ A/D Converter ว่ามีความละเอียดมากน้อยเพียงใด ทำอย่างไรจึงจะประมาณค่าสัญญาณดิจิตอลได้ใกล้เคียงกับสัญญาณเสียงมากที่สุด ความละเอียดของ A/D Converter นั้นถูกกำหนดโดยจำนวนบิตของสัญญาณดิจิตอลเอาต์พุต เช่น
- A/D Converter 8 Bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 256 ระดับ
- A/D Converter 16 bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 65,536 ระดับ
หากจำนวนระดับมากขึ้นจะทำให้ความละเอียดยิ่งสูงขึ้นและการผิดเพี้ยนของสัญญาณเสียงยิ่งน้อยลง นั่นคือ ประสิทธิภาพที่ของเสียงที่ได้รับดีขึ้นนั่นเองแต่จำนวนบิตต่อหนึ่งตัวอย่างจะมากขึ้นด้วย
- A/D Converter 8 Bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 256 ระดับ
- A/D Converter 16 bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 65,536 ระดับ
หากจำนวนระดับมากขึ้นจะทำให้ความละเอียดยิ่งสูงขึ้นและการผิดเพี้ยนของสัญญาณเสียงยิ่งน้อยลง นั่นคือ ประสิทธิภาพที่ของเสียงที่ได้รับดีขึ้นนั่นเองแต่จำนวนบิตต่อหนึ่งตัวอย่างจะมากขึ้นด้วย
รูปแบบของ Sound Card มีอะไรบ้าง ?
โดยทั่วไปที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ มี 2 แบบ คือ
- แบบออนบอร์ด (Sound On Board) เป็นระบบเสียงตามมาตรฐาน AC'97 หรือ IntelHigh Definition Audio อยู่ในรูปแบบของชิปเสียง ถูกติดตั้งไว้บนเมนบอร์ดเพื่อพร้อมสำหรับใช้งาน โดยไม่ต้องหาการ์ดเสียงมาใส่
- แบบตัวการ์ดเสียง (Sound Card) เป็นระบบเสียงที่ได้คุณภาพดีกว่าแบบออนบอร์ด แต่จะต้องซื้อการ์ดเสียง โดยมากใช้เสียบลงในช่องสล็อตแบบ PCI บนเมนบอร์ด
Soundcard มีกี่ประเภท?
ชนิดของการ์ดเสียง (Sound Card) แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ซึ่งสามารถแบ่งชนิดออกตามอดีตถึงปัจจุบัน ได้แก่
- แบบ ISA คือการ์ดเสียงแบบ Internal ซึ่งผลิตออกมานานแล้วจะใช้ร่วมกับเมนบอร์ดรุ่นเก่าที่มีสล็อต ISA ระบบเสียงยังไม่ได้คุณภาพ แต่ก็เป็นการ์ดเสียง ที่ได้รับการนิยมในสมัยอดีด แต่ในปัจจุบันการ์ดเสียงแบบ ISA ไม่มีแล้ว
- แบบ PCI คือการ์ดเสียงแบบ Internal เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถสังเคราะห์เสียงได้อย่างมีคุณภาพและมีราคาไม่แพงมากแต่ก็มีราคาแพงในบางรุ่น สามารถเลือกใช้ได้ตามความต้องการ
- แบบ External โดยปกติแล้วชนิดของการ์ดเสียงแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท แต่ที่จัด การ์ดเสียง (Sound Card) แบบ External ออกเป็นประเภทที่ 3 ก็เพราะว่าการ์ดเสียงแบบนี้เริ่มมีให้เห็นกันมากขึ้น อีกทั้งยังมีการติดตั้งที่แตกต่างจาก การ์ดเสียง ที่บอกมาข้างต้นด้วย โดยสามารถที่จะติดตั้งโดยผ่านทางพอร์ต USB ทำให้ในการใช้งานนั้นสามารถทำได้ง่ายยิ่งขึ้น
สรุปข้อดีและข้อเสียของการ์ดเสียง (Sound Card)
การ์ดเสียงแบบ Internal
- ข้อดี : มีขนาดที่เล็ก น้ำหนักเบา มีพอร์ตเชื่อมต่อจำนวนมาก รองรับกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้หลายชนิด
- ข้อเสีย : ได้รับอันตรายได้ง่าย เนื่องจากตัวของการ์ดเสียงมีลักษณะเปลือยเปล่า ขั้นตอนในการติดตั้งยุ่งยาก
การ์ดเสียงแบบ External
- ข้อดี : ติดตั้งได้ง่าย มีรูปทรงสวยงาน และโดดเด่น สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างสะดวกสบาย มีความทนทานค่อนข้างสูง
- ข้อเสีย : มีราคาสูง ไม่ค่อยมีพอร์ตที่สนับสนุนพอร์ต Game Port หรือ พอร์ต MIDI
Sound Card มีความจำเป็นแค่ไหน
ปัจจุบัน Mainboard ของเครื่อง PC Computer แทบทุกตัว ล้วนติดตั้งวงจรแสดงผลการประมวลและส่งออกของเสียง มาในตัวเองทั้งสิ้น หรือที่เรียกกันว่า Sound on Board ดังนั้น ความจำเป็นในการซื้อ Sound Card มาใช้งานจึงลดความจำเป็นลง หรือบางคนอาจคิดว่าไม่จำเป็นอีกต่อไป ก็ในเมื่อมีภาครับส่งสัญญาณเสียงอยู่แล้ว แล้วยังจะต้องซื้อ Sound Card มาใช้งานให้ทับซ้อน สิ้นเปลืองสตางค์อีกทำไม เมื่อมันก็ทำงานเหมือนๆ กัน
มาถึงจุดนี้ คงต้องถามตัวเองแล้วละ ว่า เราใส่ใจกับเสียงที่อยากได้ยินนั้นแค่ไหน ?
- ถ้าคุณรู้สึกว่า เสียงที่ได้จาก เพลง หนัง ละคร ไม่ว่าจะฟังจาก คอม วิทยุ เครื่องเล่น CD โทรทัศน์ ทุกอย่างมันก็เหมือนๆ กัน ฟังรู้เรื่องว่าเป็นเสียงอะไร ต่างกันแค่เสียงดัง หรือเสียงเบาเท่านั้น หากเป็นเช่นนั้น สรุปได้ว่า Sound Card นั้น ไม่มีความจำเป็นกับคุณเลย
- แต่ถ้าคุณรู้สึกถึงว่า เสียงที่ได้ยินจากแต่ละเครื่องเล่น แต่ละอุปกรณ์ คอมแต่ละเครื่อง มีความแตกต่างกัน อันนั้นเบสหนักสะใจ อันโน้นเสียงโปร่งๆ ปิ้งๆ ฟังสบาย อันนี้เสียงหวาน นิ่มนวล ฯ แบบนี้ Sound Card อาจมีส่วนช่วยคุณได้ เพื่อให้ได้เสียงที่ออกจากระบบคอมพิวเตอร์เป็นไปในแบบทีชอบหรือต้องการมากขึ้น
ข้อมูลอ้างอิง
http://www.mindphp.com
www.mercular.com
มาถึงจุดนี้ คงต้องถามตัวเองแล้วละ ว่า เราใส่ใจกับเสียงที่อยากได้ยินนั้นแค่ไหน ?
- ถ้าคุณรู้สึกว่า เสียงที่ได้จาก เพลง หนัง ละคร ไม่ว่าจะฟังจาก คอม วิทยุ เครื่องเล่น CD โทรทัศน์ ทุกอย่างมันก็เหมือนๆ กัน ฟังรู้เรื่องว่าเป็นเสียงอะไร ต่างกันแค่เสียงดัง หรือเสียงเบาเท่านั้น หากเป็นเช่นนั้น สรุปได้ว่า Sound Card นั้น ไม่มีความจำเป็นกับคุณเลย
- แต่ถ้าคุณรู้สึกถึงว่า เสียงที่ได้ยินจากแต่ละเครื่องเล่น แต่ละอุปกรณ์ คอมแต่ละเครื่อง มีความแตกต่างกัน อันนั้นเบสหนักสะใจ อันโน้นเสียงโปร่งๆ ปิ้งๆ ฟังสบาย อันนี้เสียงหวาน นิ่มนวล ฯ แบบนี้ Sound Card อาจมีส่วนช่วยคุณได้ เพื่อให้ได้เสียงที่ออกจากระบบคอมพิวเตอร์เป็นไปในแบบทีชอบหรือต้องการมากขึ้น
ข้อมูลอ้างอิง
http://www.mindphp.com
www.mercular.com
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น